การเตรียมความพร้อมทางการเงินเพื่อใช้ชีวิตในวัยเกษียณ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องเป็นภาระทางการเงินของผู้อื่น ซึ่งการวางแผนการเงินเพื่อเกษียณ เริ่มต้นจาก...
1. กำหนดอายุที่จะเกษียณ เช่น 55 ปี 60 ปี หรือ 65 ปี เพื่อจะได้รู้ว่าเรามีเวลาเตรียมตัวอีกนานเท่าไหร่
2. ประมาณช่วงระยะเวลาหลังเกษียณ เช่น 20 ปี 25 ปี หรือ 30 ปี เพื่อให้รู้ว่าเราจะต้องใช้เงินหลังเกษียณไปอีกกี่ปี โดยประเมินจากญาติพี่น้องในครอบครัวว่าส่วนใหญ่เสียชีวิตที่อายุประมาณเท่าไหร่ ประกอบกับความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราว่าเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยแค่ไหน
3. ประมาณการค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ซึ่งอาจจะใช้สูตรนี้คำนวณคร่าว ๆ ได้
เช่น หากคาดว่าค่าใช้จ่ายในช่วงใกล้เกษียณจะเท่ากับ 50,000 บาทต่อเดือน และคาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 20 ปี ดังนั้น จำนวนเงินที่ควรจะมีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะเท่ากับ 8,400,000 บาท [(70% x 600,000) x 20]
4. ประมาณการแหล่งรายได้หลังเกษียณ เช่น เงินบำเหน็จบำนาญ เงินรับจากกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รายได้จากการลงทุน หรือผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต ฯลฯ เพื่อดูว่าเราจะมีเงินเพียงพอหรือไม่
5. วางแผนการออมและลงทุน จากประมาณการค่าใช้จ่ายและรายได้หลังเกษียณ เราก็จะรู้ว่าต้องเก็บเงินเพิ่มอีกเท่าไร และจะสามารถวางแผนการออมและลงทุนอย่างเหมาะสมได้