เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นอกเหนือไปจากเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้ลูกจ้าง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างหรือถูกให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจ และไม่มีความผิดใด ๆ (เลิกจ้าง หมดสัญญาจ้าง เลิกกิจการ และเกษียณอายุ) โดยเงินชดเชยที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุงาน ดังนี้
อายุงาน | อัตราค่าชดเชย |
ไม่น้อยกว่า 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน |
มากกว่า 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน |
มากกว่า 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน |
มากกว่า 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน |
มากกว่า 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน |
มากกว่า 20 ปีขึ้นไป | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน |
แต่หากถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุต่อไปนี้ จะไม่ได้รับเงินชดเชยตามที่กฎหมายระบุไว้
1. ลูกจ้างลาออกจากงานโดยสมัครใจ
2. สัญญาจ้างงานมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน
3 .ทุจริตต่อนายจ้าง หรือทำความผิดอาญา
4. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
5. ประมาทเลินเล่อ จนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง
6. ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยนายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
7. ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
8. ได้รับโทษจำคุก ตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก