• A
  • B
  • C
  • D
  • E
  • F
  • G
  • H
  • I
  • J
  • K
  • L
  • M
  • N
  • O
  • P
  • Q
  • R
  • S
  • T
  • U
  • V
  • W
  • X
  • Y
  • Z
  • #
Personal Financial Statement
งบการเงินส่วนบุคคล

รายงานแสดงข้อมูลทางการเงินของบุคคล ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนทางการเงิน เพราะจะช่วยให้เราทราบสถานะทางการเงินที่แท้จริง สามารถประเมินสถานการณ์การเงินในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งงบการเงินส่วนบุคคลแบ่งออกเป็น งบดุลส่วนบุคคล และ งบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

งบดุลส่วนบุคคล

งบดุลส่วนบุคคล (Personal Balance Sheet) คือ รายงานที่แสดงสถานะความมั่งคั่งทางการเงินของบุคคล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ทำให้ทราบว่าเรามีสินทรัพย์และหนี้สินจำนวนเท่าใด และสรุปแล้วเรามีความมั่งคั่งสุทธิมากน้อยเพียงใด ผ่านสมการง่าย ๆ ดังนี้


calculate72

 

สินทรัพย์
(บันทึกมูลค่าที่คาดว่าจะขายได้ในปัจจุบัน)
หนี้สิน
(บันทึกยอดคงค้างในปัจจุบัน)
  1. สินทรัพย์สภาพคล่อง
    เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต เช่น เงินสด เงินฝาก เงินลงทุนระยะสั้น ฯลฯ
  2. สินทรัพย์ลงทุน
    เพื่อการลงทุน เช่น หุ้น พันธบัตร กองทุนรวม ประกันชีวิต ที่ดิน ทองคำ ฯลฯ
  3. สินทรัพย์ส่วนตัว
    เพื่อการใช้งาน เช่น บ้าน รถ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ฯลฯ
  1. หนี้สินระยะสั้น
    หนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี เช่น หนี้บัตรเครดิต ฯลฯ
  2. หนี้สินระยะยาว
    หนี้สินที่ใช้เวลาผ่อนชำระเกิน 1 ปี เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ ฯลฯ
  3. ความมั่งคั่งสุทธิ

 

งบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

งบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (Personal Income and Expense Statement) คือ รายงานสรุปรายได้และค่าใช้จ่ายของบุคคลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น 1 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราอย่างชัดเจน ผ่านสมการง่าย ๆ ดังนี้


calculate72

 

รายได้ ค่าใช้จ่าย
  1. รายได้จากการทำงาน
    มาจากการใช้แรงกายของตนเองเพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น เงินเดือน
    ค่าล่วงเวลา ฯลฯ
  2. รายได้จากการลงทุน
    เกิดจากดอกผลของการลงทุนต่าง ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ
  3. รายได้อื่น ๆ
  1. ค่าใช้จ่ายคงที่
    ค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนเงินที่แน่นอนทุกเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ
    ค่าเบี้ยประกัน ฯลฯ
  2. ค่าใช้จ่ายผันแปร
    ค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง
    ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเสื้อผ้า ฯลฯ
  3. ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและการลงทุน
    ค่าใช้จ่ายในการทำตามเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งใจไว้ เช่น เงินออม ค่าหุ้นสหกรณ์ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ฯลฯ


หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง