• #
การวางแผนมรดก
Estate Planning

การวางแผนส่งต่อทรัพย์สินในยามที่เสียชีวิตให้เป็นไปตามความต้องการของเรา เนื่องจากมรดกนั้นจะครอบคลุมทรัพย์สินและหนี้สิน ทำให้อยู่ในข่ายที่จะสามารถตกทอดถึงทายาทได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ครอบครองทรัพย์สมบัติทุกคนควรเริ่มรวบรวมและจดบันทึกทรัพย์สินและหนี้สินตามแหล่งต่าง ๆ ว่า เป็นจำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหนบ้าง เพื่อให้เป็นระบบระเบียบและสะดวกมากยิ่งขึ้นต่อการใช้ประโยชน์ในอนาคต

การส่งต่อกองมรดกนั้น เครื่องมือที่ใช้ก็จะเป็น การทำพินัยกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินจะถูกส่งต่อหรือถ่ายโอนไปยังบุคคลที่เราต้องการมอบให้อย่างแน่นอนและครบถ้วน ซึ่งตามกฎหมายเราจะให้ใครหรือองค์กรใดเป็นผู้รับมรดกก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติสนิท หรือสายเลือดเดียวกันเสมอไป โดยขั้นตอนการทำพินัยกรรมเพียงแค่ระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ก็ทำให้การจัดการทรัพย์สินของเราเป็นไปอย่างสมบูรณ์ได้

ข้อมูลหลัก ๆ ที่ต้องระบุในพินัยกรรมประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ นามสกุล อายุ) รายการทรัพย์สินต่าง ๆ (บ้าน ที่ดิน เงินฝาก) กรมธรรม์ประกัน (ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ) รายชื่อผู้รับมรดก ผู้จัดการมรดก จำนวนทรัพย์สินที่ต้องการจัดสรรให้แต่ละคน ลายมือชื่อ และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม ซึ่งสามารถเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับได้ แต่ก็ควรมีพยานยืนยันว่าเราเขียนพินัยกรรมฉบับนี้จริง ๆ ซึ่งพยานไม่ควรมีส่วนได้เสียและไม่เป็นผู้รับมรดกดังกล่าวด้วย

เมื่อทำพินัยกรรมแล้ว ควรกลับมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอด อย่างน้อยทุก ๆ 3 – 5 ปี เพื่อให้แน่ใจว่า พินัยกรรมของเราจะถูกนำไปปฏิบัติตามที่เราต้องการ และควรบอกกล่าวแก่คู่สมรสหรือบุคคลใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ให้ทราบด้วยว่า พินัยกรรมฉบับล่าสุดนั้นจัดทำขึ้นเมื่อไรและเก็บไว้ที่ใด รวมถึงเอกสารสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถนำพินัยกรรมและเอกสารต่าง ๆ มาดำเนินการต่อไปได้

กรณีที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินจะถูกจัดสรรให้แก่ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสและประเภทญาติ ตามลำดับและสัดส่วนทางกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยทายาทโดยธรรมประเภทญาติ ได้แก่

educationIB - icon-check 1. ผู้สืบสันดาน
educationIB - icon-check 4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
educationIB - icon-check 2. บิดามารดา educationIB - icon-check 5. ปู่ ย่า ตา ยาย
educationIB - icon-check 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
educationIB - icon-check 6. ลุง ป้า น้า อา


อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผนมรดกเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่